AIS-DEPA

According to AIS-DEPA more than 200 devices have been deployed in the project. We’ve supplied our pround of Outdoor PM2.5 monitoring units along with customized and calibrated espectially for this model.


สถาบันไอโอที-ดีป้า จับมือ AIS ติดตั้งเซ็นเซอร์วัดฝุ่น PM 2.5 กว่า 200 จุด โดยนำร่อง 3 จังหวัดพื้นที่ EEC ต่อยอด NB-IoT ส่งรายงานค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์ ผ่านแอปพลิเคชั่น depa PM 2.5

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เผยว่า ความร่วมมือระหว่างสถาบันไอโอทีและนวัตกรรม (IoT and Innovation Institute) หน่วยงานภายใต้การกำกับของ depa และ AIS ในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการเดินหน้าหาพันธมิตรเพื่อร่วมพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้มอบหมายให้ดีป้า ขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่องและเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ จึงได้จับมือ AIS ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วย IoT โดยติดตั้งเซ็นเซอร์วัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กว่า 200 จุด พร้อมกับพัฒนาแอปพลิเคชั่น depa PM 2.5 เพื่อใช้ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ โดยนำร่อง ในพื้นที่ 3 จังหวัดพื้นที่ EEC เนื่องจากเป็นพื้นที่ผลกระทบจากปัญหามลพิษเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีโรงงานขนาดใหญ่ และระบบการขนส่งทั้งทางรถบรรทุกและเรือจำนวนมาก

Example image

สำหรับ IoT หรือ Internet of Things เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายจุดประสงค์ เช่นในภาคการเกษตรไอโอทีก็สามารถนำมาปรับใช้วัดค่าความชื้นและอุณหภูมิในดินและสั่งการให้อุปกรณ์อื่นๆ ทำงานได้อย่างอัตโนมัติตามความเหมาะสมกับพืชผล สำหรับครั้งนี้ได้มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าคุณภาพอากาศ พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับรายงานค่าคุณภาพอากาศได้แบบเรียลไทม์ พร้อมการแจ้งเตือนสภาพอากาศพื้นที่ที่มีการเลือกติดตาม และ แนะนำวิธีดูแลตัวเอง โดยมุ่งที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนด้วยไอโอทีในอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ได้มีการวางแผนที่จะขยายระบบไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเริ่ม จากพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ เช่น ภูเก็ต กระบี่ อุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ และพิษณุโลก เป็นต้น ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม

Example image

ด้าน นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กรของ AIS เผยว่าได้รับการส่งเสริมจาก depa ในการพัฒนาระบบเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์และพัฒนาแอปพลิเคชั่น โดยร่วมกับพันธมิตรด้าน IoT เพื่อพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม ซึ่งภายในประกอบด้วยเซ็นเซอร์วัดค่าความชื้น อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่น PM 2.5 โดยข้อมูลต่างๆ ที่วัดได้จะถูกส่งข้อมูลกลับไปยัง Magellan (IoT Platform ของ AIS) ผ่านเครือข่าย NB-IoT ซึ่งเป็นระบบส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ใช้พลังงานต่ำ แบตเตอรี่สามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี และมีสัญญาทะลุทะลวงสูง มีพื้นให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ โดยการทำงานเซนเซอร์จะทำการตรวจวัดค่าทุกๆ 5 นาที และจะส่งข้อมูลไปยัง Magellan เพื่อประมวลผลข้อมูล และแสดงผลเป็นค่าความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ และ ค่าฝุ่น PM 2.5 รายงานผลพื้นที่ถึงในระดับตำบล กระจายพื้นที่ 3 จังหวัดพื้นที่ EEC นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเป็น Dashboard แสดงผลสรุปรายเดือนในรูปแบบของ Web Based เพื่อให้ผู้บริหารเมือง หรือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเมืองได้สามารถนำมาเป็นข้อมูลเพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองที่ตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น นอกจากการให้บริการข้อมูลในแบบเรียลไทม์แล้ว เอไอเอส จะมีแผนบูรณาการข้อมูลร่วมกับเครือข่ายนักวิจัย โดยจะร่วมวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้สามารถวิเคราะห์เพื่อคาดการณ์สภาพอากาศล่วงหน้า สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากร และการดูแลประชาชนในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://www.thansettakij.com/content/tech/432442